วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2566

เคล็ด (ไม่) ลับ การคิดคำคล้องจองในบทร้อยกรองไทย

        เสียงใดไม่เข้าพวก  ...สน   หน   จน   ขน   มล   กล   ศร  ... 

    จากคำถามข้างต้น  คิดว่า หลายคนคงจะได้คำตอบแล้ว  นั่นคือคำว่า  ศร  นั่นเองจ้า

   เมื่อเราคิดอยากแต่งบทร้อยกรองขึ้นมา  สิ่งสำคัญก็คือ ต้องคิดหาคำคล้องจอง เพื่อให้บทร้อยกรองของเรานั้นแต่งได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ และตามผังที่มีเส้นสัมผัสคำคล้องจองกำหนดไว้   ซึ่งบทร้อยกรองแต่ละประเภทก็จะมีกำหนดตำแหน่งคำคล้องจองที่แตกต่างกันไป

    วันนี้ มาทำความรู้จักกับคำคลัองจองกันหน่อยดีไหมคะ  เผื่อได้นำไปใช้ประโยชน์ในการแต่งบทร้อยกรอง

    คำคล้องจอง หรือคำสัมผัส  คือ คำที่มีเสียงไปในทำนองเดียวกัน  แยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ  ดังนี้

    ๑. คำคล้องจองที่ไม่มีตัวสะกด  แต่คำนั้นต้องใช้สระเสียงเดียวกัน และใช้พยัญชนะต้นต่างกัน      บางครั้งอาจไม่ต้องคำนึงถึงรูปวรรณยุกต์ที่ใช้   ยกเว้นการแต่งบทร้อยกรองบางประเภทที่มีการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ไว้ เช่น  สา   มา  นา  หา  ตา   ย่า   ล้า   ป๋า  ฯลฯ

    ๒. คำคล้องจองที่มีตัวสะกด  แต่ต้องเป็นตัวสะกดในมาตราเดียวกัน  และต้องมีเสียงสระเดียวกันเท่านั้น  เช่น  สาย   หาย   ต่าย   คล้าย   อาย   หลาย   ปลาย   ฯลฯ

    คำคล้องจองเหล่านี้ เพื่อความสะดวกในการหา  เราจะยึดที่เสียงของคำคล้องจองเป็นหลัก  เช่น  สิงห์   ออกเสียงเป็น   เสียง   อิง    แล้วคำไหนบ้างล่ะ  ที่ออกเสียงเป็นเสียง  อิง   

    วิธีการง่าย ๆ ที่เราชอบใช้  นั่นก็คือ  เสียง  อิง   เราใช้การเปลี่ยนจาก  อ   ในเสียง  อิง  เป็นพยัญชนะตัวอื่นแล้วอาจเพิ่มรูปวรรณยุกต์เข้าไป   แต่ต้องเป็นคำที่มีความหมายเท่านั้นนะ   

    อาจไล่จาก  ก - ฮ  ได้เลย  แต่ต้องดูด้วยว่า  พยัญชนะตัวใดที่ไม่มีคำใช้  ก็ข้ามไปได้เลย จะได้ไม่เสียเวลาไล่เสียงค่ะ

   เช่น      กิ่ง   กริ่ง   ขิง    คิง   จริง   ฉิ่ง   ชิง   ซิง   ซิ่ง   หญิง  ดิ่ง   ติง   ติ่ง  ทิง   ทิ้ง   นิ่ง   ปลิง   ปิง   ผิง   พิง   มิ่ง  ยิง   ยิ่ง   รุ่งริ่ง  ลิง  วิ่ง   สิง   สิงห์   หิ่งห้อย   อิง    เป็นต้น

ลองใช้เทคนิคนี้ดูนะ  จะทำให้เราคิดหาคำคล้องจองได้ง่ายขึ้นจ้า









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น