วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เพลงพื้นบ้านในข้อสอบโอเน็ต

    ใกล้เทศกาลสอบโอเน็ตแล้ว  หลาย ๆ คนคงเตรียมความพร้อมการสอบภาษาไทยอย่างเต็มที่แล้วนะคะ  วันนี้เราก็มีตัวอย่างข้อสอบเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านมาให้ดูกันค่ะ

    เพลงพื้นบ้าน  เป็นเพลงประจำของแต่ละท้องถิ่นทั้งถิ่นกลาง  อีสาน   เหนือ   ใต้  ลักษณะเด่นของเพลงพื้นบ้านก็คือ  ๑.  เป็นเพลงที่สืบทอดกันมานานและไม่ระบุว่าใครเป็นผู้แต่ง
                              ๒. มีเนื้อร้องและทำนองไม่ตายตัวแล้วแต่ความต้องการของผู้ร้องหรือตามสถานการณ์
                              ๓. ผู้นำร้องเพลงพื้นบ้านเรียกว่า  พ่อเพลง แม่เพลง  และมักจะมีลูกคู่คอยร้องประสานเสียงเพื่อความสนุกสนานและความไพเราะของเพลง
                              ๔.  มีการจัดจังหวะคำและสัมผัสง่าย ๆ ไม่ตายตัว เช่นเพลงพื้นบ้านภาคกลาง นิยมคำกลอนที่ลงท้ายด้วยสระเสียงเดียวกันไปเรื่อยๆ เป็นสัมผัสคล้องจองกันที่เสียงสระ  ไม่ใช่รูปสระ
                              ๔.  มีการจัดจังหวะคำและสัมผัสง่าย ๆ ไม่ตายตัว เช่นเพลงพื้นบ้านภาคกลาง 
นิยมคำกลอนที่ลงท้ายด้วยสระเสียงเดียวกันไปเรื่อยๆ เป็นสัมผัสคล้องจองกันที่เสียงสระ ไม่ใช่รูปสระ 
ที่นักวิชาการเรียกว่า "กลอนหัวเดียว" แต่พ่อเพลงแม่เพลง (ผู้ร้องเพลงพื้นบ้านฝ่ายชาย-ฝ่ายหญิง) นิยมเรียกว่า กลอนไล กลอนลา กลอนลี 
                        ๕. เน้นความสนุกสนานเป็นหลัก ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปของการใช้คำสองแง่สองง่าม หรือคำที่เรียกว่า "กลอนแดง"เป็นภาษาของชาวเพลงภาคกลาง หมายถึง กลอนที่มีคำกล่าวถึงอวัยวะเพศ และพฤติกรรมทางเพศอย่างตรงไปตรงมา หรือบางครั้ง ก็ใช้คำผวนแทน คำเหล่านี้ปกติถือว่าเป็นคำหยาบ แต่เมื่อนำมาใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่อดั้งเดิม ที่ปรากฏในกลุ่มชน ซึ่งประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม และกสิกรรม ถือว่าเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิต ส่งผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์  

              เมื่อรู้จักเพลงพื้นบ้านกันแล้วก็มาดูข้อสอบกันเลยค่ะ
 
๑.  ข้อใดเป็นเพลงพื้นบ้านที่อยู่ภาคเดียวกันทั้งหมด
      ๑.  ซอ  ฮ้องขวัญ                           ๒.  ลำเกี้ยว   เพลงชาน้อง
      ๓.  เพลงโคราช      จ๊อย                ๓.  เพลงฉ่อย    ลำเรื่อง

๒.  ข้อใดมีลักษณะคำประพันธ์ตรงกับลักษณะคำประพันธ์ของเพลงพื้นบ้าน ที่เรียกว่า "กลอนหัวเดียว"
    ๑.     มาเถอะหนาแม่มา                  แม่หนูน้อยอย่าช้า   ท่วงที
         จัดเป็นวงกงกำ                          ของพี่ก็ทำเอาไว้ดิบดี
         ถ้าน้องไม่เล่นกะทิดพร้อม         ตัวพี่จะกล่อมมโหรี
    ๒.      รีรีข้าวสาร   สองทะนานข้าวเปลือก    เลือกท้องใบลาน
         เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน      พานเอาคนข้างหลังไว้
    ๓.     จ้ำจี้จ้ำอวด       เอาลูกไปบวช     ถึงวัดถึงวา   ครั้นสึกออกมา     สัพพะลุ่นจุ่นจู๋
    ๔.     แม่ศรีเอย          แม่ศรีสวยสะ
            ยกมือไหว้พระ      ก็จะมีคนชม
            ขนคิ้วเจ้าก็ต่อ       ขนคอเจ้าก็กลม
            ชักผ้าปิดนม          ชมแม่ศรีเอย

๓.  ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่เพลงพื้นบ้านต้องมีลูกคู่ไว้รองรับหรือร้องซ้ำเพลง
          ๑.  เพื่อให้เพลงมีความไพเราะมากขึ้น
          ๒. เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการร้องเพลง
          ๓.  เพื่อให้พ่อเพลงมีเวลาคิดเนื้อร้องในวรรคถัดไป
          ๔.  เพื่อให้แตกต่างจากเพลงพื้นบ้านประเภทอื่น

๔.  ลักษณะคำประพันธ์ของเพลงพื้นบ้านโดยทั่วไปคือข้อใด
        ๑.  มีการส่งสัมผัสนอกไม่คงที่
        ๒.  สัมผัสสระต้องเป็นสระรูปเดียวกันเสมอ
        ๓.  เมื่อส่งสัมผัสระหว่างวรรคจะใช้สัมผัสอักษร
        ๔.  สัมผัสอักษรต้องเป็นรูปอักษรเดียวกันเสมอ

มาดูคำตอบกันค่ะ
    ๑.   ตอบข้อ  ๑  เพราะ  ซอ  และฮ้องขวัญ เป็นเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ
                             ส่วนข้อ  ๒  ลำเกี้ยว  (ภาคอีสาน)    เพลงชาน้อง  (ภาคใต้)
                                    ข้อ  ๓  เพลงโคราช  (ภาคอีสาน)    จ๊อย  (ภาคเหนือ)
                                    ข้อ  ๔  เพลงฉ่อย   (ภาคกลาง)   ลำเรื่อง   (ภาคอีสาน)

    ๒.   ตอบข้อ ๑ เพราะสังเกตจากสัมผัสระหว่างวรรคและดูคำลงท้ายทุกวรรคที่ลงเสียงสระอีเหมือนกัน
                            ส่วนข้ออื่น ๆ เป็นเพลงร้องเล่นสำหรับเด็ก

   ๓.   ตอบข้อ  ๔

   ๔.   ตอบข้อ  ๑  เพราะเพลงพื้นบ้านจะมีการส่งสัมผัสนอกไม่คงที่
                            ส่วนสัมผัสสระและสัมผัสระหว่างวรรคไม่จำเป็นจะต้องใช้รูปสระและรูปอักษรเดียวกันเสมอ



 ขอบคุณที่มา
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=34&chap=2&page=t34-2-infodetail03.html